เรียนให้สนุก เรียนในน่าสนใจ เรียนอะไรก็ไม่สู้เรียนศิลปะ

ในปัจจุบันนี้ งานศิลปะเป็นอีกงานที่สามารถแบ่งแยกมนุษย์ออกจากหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ โดยงานศิลปะนั้นยังสามารถถูกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หรือการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างหลากลาย โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยแรกเริ่มในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งจากการสัมผัส การจับ การมอง การได้ยินและที่สำคัญคือการจดจำและการคิด
ซึ่งกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการหรือนักจัดการศึกษาหลายท่าน ต่างให้ความสำคัญ และนำศิลปะเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพและใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการณ์สำหรับเด็ก และในวันนี้เราจะพูดคุยกันถึงประโยชน์ ที่เราจะได้รับจากการใช้ศิลปะ เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กกัน
Advertisement
หลักคิดด้านการใช้ศิลปะเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม
การจัดกินกรรม โดยเฉพาะการสอนการสอนวิชาศิลปะนั้น เป็นอีกสาระและรายวิชาที่เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเรียน On Site หรือการเรียนออนไลน์ ดังเช่นในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ผลปรากฏว่าเด็ก ๆ นักเรียนต่างให้ความสำคัญและสนใจ ตั้งใจศึกษาและเรียนรู้วิขาศิลปะเป็นอย่างมาก เอาเป็นว่า ไม่ว่าวิชาคณิต วิทย์หรือภาษาไทย สังคมจะเป็นอย่างไร แต่วิชาศิลปะ ดนตรี เด็ก ๆ มักจะเต็มทีและสนุกสนานเสมอ
ซึ่งความสนุกในการเรียนนั่นแหละ คือ กุญแจสำคัญสำหรับการเรียนรู้ เพราะเมื่อเราสนุกและมีความสุขไปกับการเรียนรู้แล้ว สาระหรือเนื้อหานั้น ๆ ก็จะค่อย ๆ ซึมซับเข้าสู่ความทรงจำและเกิดเป็นการคิดและการเรียนรู้ได้ในที่สุด
ศิลปะสามารถช่วยให้เกิดพัฒนาการในด้านร่างกาย
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า เด็กควรเริ่มเรียนศิลปะตั้งแต่อายุเท่าไหร่ คำตอบจริง ๆ ไม่ยากเลย คือเริ่มเรียนได้ทันที แต่คำว่า “เรียน” ณ ที่นี้ หมายถึงคำว่า “เรียนรู้และรับรู้” ไม่ใช่การเรียนเหมือนนั่งกวดวิชา แต่เป็นการเริ่มแนะนำให้เด็กได้ค่อย ๆ รู้จักกับสัมผัส การจดจำ และการเล่น เพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็ก โดยไม่ควรใช้ระยะเวลานานเกินไป และอาจจะนำมาแทรกไว้กับการเล่น หรือของเล่นเมื่อเด็กเริ่มเติบโต เด็กจะค่อย ๆ ซึมซับและเริ่มการรับรู้ความแตกต่างและความคิดสร้างสรรค์
อีกทั้งยังเป็นการเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเล็กในการยิบ จับ ถือ อุปกรณ์ของเล่น หรือดินปั้น โดยสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการแนะนำเด็กให้เริ่มมีความคุ้นชินกับศิลปะและสามารถเสริมพัฒนาการด้านร่างกายด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และมัดใหญ่ต่อได้ในอนาคต

ศิลปะสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้านสมอง ความคิดและจินตนาการ
จากหลักฐานงานวิจัยและการทดลองหลายชิ้น พบว่าการเรียนศิลปะสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านสมอง และด้านการคิดได้ เนื่องจาก การทำกิจกรรม ศิลปะ เช่น การปั้นเป็นกิจกรรมที่มีสิ่งเร้าที่มีความสำคัญของการทำงานของระบบสมองในด้านกระบวนการคิด เพราะสมองจะรับรู้ เข้าใจ และสัมผัสอุปกรณ์และวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ได้นั้น จะผ่านกระบวนการแยกแยะซึ่งจะเกิดขึ้นในกระบวนการคิด ไม่แพ้การเรียนคณิตศาสตร์
อีกทั้งในหลายประเทศยังมีการจัดกิจกรรม ศิลปะกับการเล่นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเล่นไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ ซึ่งพบว่า นอกจากเด็กจะมีความสนุกสนานจากการเล่นแล้ว เด็กยังสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่มีความสำคัญต่อการยิบยับ และการทำงานของมือและแขนในอนาคต
ศิลปะสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้านจิตใตและอารมณ์
การทำงานของสมองมนุษย์นั้น ถือได้ว่าเป็นระบบการทำงานที่น่าอัศจรรย์มากที่สุดระบบหนึ่ง โดยสมองของมนุษย์สามารถตอบสนองและแยกแยะอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่องานศิลปะแขนงต่าง ๆ ได้หลากลาย ทั้ง ความสุข ความเศร้า เร้าใจ ตื่นเต้น หรือแม้กระทั่งความหวาดกลัว ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ที่ตอบสนองต่อการได้ยินเสียงดนตรีชนิดและประเภทต่าง ๆ หรือการมองเห็นภาพวาดที่มีเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย และการยิบจับและสัมผัสงานศิลปะที่มีความสวยงาม น่ารักหรืองานที่มีความพิเศษต่าง ๆ
ประกอบกับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งเด็กจะสามารถแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับการรับรู้ ความคุ้นชินและสภาวะทางอารมณ์ของเขาขณะนั้น ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า ศิลปะสามารถช่วยให้เกิดพัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ ( EQ – Emotional Quotient) สำหรับเด็ก โดยสามารถทำจะพัฒนาต่อเนื่องไปสู่การจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือหรือเป็นสื่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็ก ที่จะมีความรู้สึกสนุกสนานเมื่อได้ทำกิจกรรมที่มีศิลปะเป็นส่วนประกอบ เพราะเป็นการกระตุ้นการรับรู้ด้านการเรียนรู้ได้พร้อม ๆ กับการมองและการปฏิบัติ